ปัญหา ลูกไม่ยอมกินข้าว สามารถแก้ได้ตรงจุด

ลูกไม่ยอมกินข้าว เป็นปัญหาที่ผู้ปกครองพบเจอได้บ่อย และทำให้ผู้ปกครองหลายคนมีความกังวล กลัวว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการเลือกกินอาหารในเด็ก (ที่เรียกว่า “กินยาก”) นั้นเป็นพฤติกรรมที่พบได้ตามธรรมชาติ เนื่องจากช่วงเวลาที่เด็กโตขึ้นมาจากวัยทารก น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นต่อปีจะค่อย ๆ ลดลง โดยจะเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

ดังนั้น ในช่วงเวลาที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตช้าลง ความต้องการพลังงานก็จะลดลงด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงวัยก่อนหน้า จึงทำให้ความอยากอาหารลดลง ผู้ปกครองจึงอาจไม่สบายใจว่า ทำไมลูกถึงไม่ค่อยกินข้าว หรือ กินอาหารได้น้อยลง

ลูกไม่ยอมกินข้าว ส่งผลอย่างไร

หากลูกไม่ค่อยกินข้าวเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากความจำกัดของอาหารที่บริโภคไม่รุนแรงมาก ก็ไม่ถือเป็นภาวะอันตรายต่อลูก เพียงแต่ต้องอาศัยการปรับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองเพื่อแก้ไขปัญหา

อย่างไรก็ตาม หากลูกไม่ยอมกินข้าวจนส่งผลกระทบทำให้น้ำหนัก ส่วนสูงไม่เพิ่มตามปกติ มีสัญญาณของการขาดสารอาหาร ความจำกัดของอาหารเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ลูกไม่สบาบบ่อยหรือมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น สำลัก อาเจียน ท้องเสีย ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง ลูกมีอารมณ์รุนแรง อย่างมาก ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคหรือสภาวะที่เป็นที่มาของอาการกินยากนั้นๆ ต่อไป

สาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ยอมกินข้าว

1. ไม่คุ้นชินกับอาหาร

อาจเป็นเพราะในช่วงแรกที่มีการปรับเปลี่ยนจากการรับประทานนมมาเป็นอาหาร ทำให้เด็กรู้สึกไม่คุ้นเคย ไม่คุ้นชินกับการต้องเคี้ยวอาหาร และเพราะลักษณะของอาหารนั้นมีเนื้อสัมผัสที่หยาบกว่านมที่เคยรับประทานอาจทำให้เด็กไม่อยากรับประทานอาหารและกลัวการทานอาหาร

2. เป็นวัยที่เริ่มมีการต่อต้าน

ในเด็กที่มีอายุราวๆ 18-24 เดือน ถือเป็นช่วงที่เด็กจะเริ่มปฏิเสธหรือต่อต้านสิ่งที่พ่อแม่อยากให้พวกเขาทำ แต่หนึ่งกิจกรรมที่เด็กมักจะต่อต้าน คือ การทานข้าว อาจเป็นเพราะกำลังเล่นสนุกอยู่ หรือเพลิดเพลินกับการดูการ์ตูนอยู่และไม่อยากจากความสนุกที่อยู่ตรงหน้าไป นั่นจะทำให้เด็กปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารนั่นเอง

3. เป็นเด็กที่มีนิสัยเลือกกิน

เด็กก็เหมือนกับผู้ใหญ่ พวกเขามีสิ่งที่ตนเองชอบและไม่ชอบ อาหารก็เช่นเดียวกัน เมื่อพวกเขารู้สึกไม่คุ้นเคยกับรสชาติ หรือรสสัมผัสของอาหาร พวกเขาจึงเลือกที่จะปฏิเสธ แต่สิ่งนี้ไม่ส่งผลดีต่อตัวเด็กเลยเพราะมีผลเสียต่อสภาพร่างกาย การเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กได้หากได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ

4. ผู้ปกครองเป็นต้นแบบที่ทำให้เด็กชอบกินจุกจิก

อีกหนึ่งสาเหตุที่เด็กๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารนั้นเป็นเพราะพวกเขาอิ่มจากมื้อขนมย่อยๆ มาแล้วนั่นเอง ทำให้เมื่อถึงเวลาทานอาหารกลับไม่รู้สึกอยากทานอาหารอีกต่อไป ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดมาจากผู้ใหญ่เป็นผู้ชักนำ เช่น เอาน้ำหวานหรือขนมให้กินในระหว่างวัน ซึ่งอาหารเหล่านี้มักมีสารอาหารไม่เพียงพออาจทำให้เด็กมีปัญหาสุขภาพตามมาได้

วิธีแก้ปัญหาลูกกินยาก

สิ่งสำคัญของการแก้ปัญหาลูกกินยาก คือ ต้องรู้สาเหตุที่ทำให้ลูกของเรากินยากก่อน เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ลูกของตัวเอง โดยการสังเกตจากพฤติกรรมการกินของเด็ก หรือเด็กที่สามารถพูดคุยด้วยได้แล้วอาจลองถามเหตุผลเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสอธิบายและลองใช้เหตุและผลในการคุยกับลูกตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กอีกด้วย และสำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาลูกกินยากมีแนวทาง ดังนี้

1.ในกรณีที่เด็กนั้นมีการรับประทานนมและอาหารควบคู่กันไป

ให้ลองลดปริมาณของนมที่รับประทานลงในแต่ละวัน เพื่อให้เด็กรู้สึกมีความอยากอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาสำหรับเด็กที่ขี้เกียจเคี้ยวจนอยากรับประทานแต่นมแต่ไม่ยอมทานข้าว ในกรณีนี้คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องทำความเข้าใจว่าเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ควรมีอาหารหลัก คือ ข้าว เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนไม่ควรกินเพียงแค่นมอีกต่อไป

2.การสร้างบรรยากาศดีๆ บนโต๊ะอาหารเองก็เป็นส่วนสำคัญต่อความอยากอาหารของเด็ก

สำหรับเด็กที่กินยาก ไม่ควรไปวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมการกินของเด็ก หรือดุด่าว่ากล่าวกันบนโต๊ะอาหาร เพราะเด็กจะรู้สึกไม่สบายใจในการรับประทานข้าวในครั้งต่อ ๆ ไปอีกด้วย และหากต้องการช่วยให้เด็กปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ควรกล่าวชมเมื่อเด็กรับประทานอาหารด้วยตนเองหรือไม่เลือกกินจะเป็นสิ่งที่ช่วยได้มากเลยทีเดียว

3. หากเด็กไม่ยอมทานอาหาร และเริ่มเล่นอาหาร

ให้เก็บจานทันที และทำความเข้าใจกับเด็กว่าจะไม่มีการรับประทานอะไรอีกจนกว่าจะถึงมื้อต่อไป และหากเด็กเกิดหิวขึ้นมาก่อนถึงมื้อถัดไปจะไม่มีการให้น้ำหรือขนมเด็ดขาด

4. ตักอาหารแต่พอดี

เพราะการตักอาหารมากเกินพอดีจะทำให้เด็กยิ่งรู้สึกไม่อยากอาหาร และหากเด็กยังไม่อิ่มสามารถตักเพิ่มให้ในภายหลังได้

ลูกไม่ยอมกินข้าว

ลูกไม่ยอมกินข้าว ดูแลทางโภชนาการอย่างไรดี

หากลูกไม่กินข้าวจนมีภาวะกินยากอย่างรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากทีมสหสาขาวิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล นักจิตบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักโภชนาการ/นักกำหนดอาหาร) อย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยมีการติดตามและประเมินผลการรักษาอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ในเด็กที่มีภาวะกินยากแบบไม่รุนแรง ผู้ปกครองอาจลองทำตามแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ เพื่อช่วยให้เด็กสามารถยอมรับอาหารมากขึ้นได้

1. งดพฤติกรรมการให้อาหารอื่น ๆ ที่ลูกชอบ เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว

หลาย ๆ ครั้งผู้ปกครองจะมีความเป็นห่วงว่าลูกจะเกิดความหิว และมักจะรู้สึกผิด จึงยอมให้อาหารอื่น ๆ ที่ลูกชอบแทน พฤติกรรมนี้จะเป็นการสอนให้ลูกเรียนรู้ว่า เมื่อปฏิเสธอาหารก็จะได้รับประทานอาหารที่ชอบ แรงจูงใจในการลองอาหารใหม่ ๆ ของลูกก็จะลดลง

2. สอนให้ลูกนั่งรับประทานอาหารบนเก้าอี้ให้เรียบร้อย

สร้างบรรยากาศให้ไม่อึดอัด ไม่กดดัน ไม่มีสิ่งรบกวนอื่น ๆ ระหว่างการกินอาหาร ทั้งในมื้อหลักและมื้อว่าง จะทำให้สมาธิของลูกจดจ่อกับการกินอาหารมากขึ้น

3. ไม่สนับสนุนให้ลูกกินจุบจิบตลอดเวลา

เพราะลูกจะไม่หิวเวลาถึงมื้ออาหาร กำหนดระยะเวลาของมื้อหลักและมื้อว่างให้ชัดเจน (แต่หยืดหยุ่นได้) ให้มีระยะห่างระหว่างแต่ละมื้อบ้าง ให้ลูกพอรู้สึกหิว แต่ไม่หิวมากจนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการแสดงออกอย่างรุนแรง

4. ใช้การเสริมแรงเชิงบวก

ทำให้ช่วงเวลาการกินอาหารเป็นช่วงเวลาที่สนุก เริ่มจากอาหารที่ลูกมีแนวโน้มจะรับได้และคุ้นชิน จับคู่อาหารที่คุ้นชินกับไม่คุ้นชิน ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกและทำอาหาร ชมเชยเวลาลูกเลือกกินอาหารชนิดใหม่ ๆ เป็นต้น

อาหารสำหรับเด็กไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุดในทุกมื้อ แต่เป็นอาหารที่เด็กยอมรับรสชาติได้ และให้คุณค่าทางโภชนาการที่พอเหมาะ หากเลือกอาหารอย่างหลากหลาย ในภาพรวม เด็กก็มีแนวโน้มที่จะได้รับสารอาหารครบถ้วนในระยะยาว

5. หลีกเลี่ยงการใช้การเสริมแรงเชิงลบ

เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว ควรหลีกเลี่ยงการดุด่าว่ากล่าว การใช้กำลังป้อน บังคับให้กินอาหารจนหมดจาน เพราะจะทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้กลไกความหิว – อิ่มตามธรรมชาติของร่างกาย และก็จะทำให้ลูกเกลียดอาหารที่ถูกบังคับให้กินด้วย

6. ไม่การติดสินบนให้ลูกกินผักด้วยการให้ขนมตามหลัง

เพราะจะเป็นการย้ำให้ลูกเห็นถึงคุณค่าของขนม แต่ลดทอนคุณค่าของผักลง และจะทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าวหรือกินยากขึ้น

10 วิธีเด็ด แก้ปัญหาลูกกินยาก

คุณพ่อคุณแม่คนไหนปวดหัวกับพฤติกรรมลูกน้อยกินยาก ไม่ยอมกินอาหารบ้าง วันนี้มี 10 เคล็ดลับดี ๆ ในการแก้ปัญหามาฝาก

1. อย่าให้นมมากเกินไป

คุณแม่ต้องลดปริมาณการให้นมลง เพราะเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น หรือ 1 ปีขึ้นไป อาหารหลักของเขาคือข้าว ไม่ใช่นมอีกต่อไป เด็กที่มีปัญหาในการกินข้าว อาจต้องจำกัดการให้นมให้ไม่เกิน 16 ออนซ์ต่อวัน หรือเท่ากับนม 8 ออนซ์ 2 มื้อ เด็กบางคนที่ตื่นมากินนมในเวลากลางคืน ก็ควรงดนมมื้อกลางคืนด้วย เพราะการให้นมช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด มักจะทำให้เด็กไม่รู้สึกหิว และไม่อยากอาหาร

2. ทิ้งช่วงห่างระหว่างมื้ออาหาร (นมกับข้าว)

ทิ้งช่วงห่างระหว่างมื้ออาหาร (นมกับข้าว) อย่างน้อย 4 ชั่วโมง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทำตารางเวลาอาหารไว้ เพื่อความสะดวกในการประเมินความเหมาะสมของอาหารและระยะห่างของอาหารแต่ละมื้อ

3. งดของหวานทุกชนิด

งดขนมถุง ขนมซอง ไอศกรีม น้ำอัดลม น้ำหวาน ทอฟฟี่ ช็อกโกแลต หรือของหวาน ๆ เพราะหลังกินขนมเหล่านี้ จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งไปกดประสาทในสมองให้ไม่รู้สึกหิว ทำให้เด็กรู้สึกอิ่ม ไม่อยากทานอาหารนั่นเองค่ะ

4. บรรยากาศสบายๆ

ในมื้ออาหารคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวัง เข้มงวด หรือกดดันทำให้เด็กรู้สึกเครียด ไม่ควรติ หรือวิพากษ์วิจารณ์ปริมาณอาหารที่เด็กกิน เช่น ทำไมถึงกินข้าวน้อย ควรเชียร์หรือกล่าวชม เพื่อให้บรรยากาศในโต๊ะอาหารอบอุ่น ลูกผ่อนคลายและอยากทานอาหารมากขึ้น

5. ห้ามดุว่าและลงโทษ

ห้ามแสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ พูดให้เด็กรู้สึกผิดหรือมีการลงโทษแรง ๆ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกเครียด และไม่อยากทานอาหารอีก

6. ฝึกให้ลูกกินเอง

เมื่อเด็กอายุ 1 ปี จะเริ่มตักข้าวกินเองได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องยอมให้ข้าวหกเลอะเทอะบ้างตามประสาเด็ก ไม่ควรป้อน หรือพยายามบังคับให้เด็กกิน และหาอาหารที่เด็กสามารถใช้มือหยิบจับกินเองได้สะดวก เช่น น่องไก่ ข้าวเหนียวปั้น จะช่วยให้เด็กรู้สึกสนุกกับการกินอาหารมากขึ้น

7. ตักอาหารให้พอดี

อย่าตักอาหารใส่จานมากเกิน แต่ควรตักให้พอดี ถ้าไม่พอถึงค่อย ๆ เติมให้ทีหลัง เพราะการตักอาหารพูนจานจะยิ่งทำให้ลูกไม่อยากกินอาหาร

8. ถ้าลูกเล่นอาหาร ให้เก็บทันที

ถ้าลูกไม่ยอมกิน เริ่มเล่นอาหาร ให้คุณพ่อคุณแม่เก็บอาหาร โดยไม่ให้นมหรือขนมอีกเลยจนกว่าจะถึงเวลาอาหารมื้อถัดไป ต้องตัดใจและใจแข็ง แต่ถ้าหากลูกมีท่าทีหิว ร้องขออาหาร ก็สามารถให้เขาทานอาหารได้ แต่ห้ามให้ทานนมหรือขนมเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นเด็กจะจำและติดเป็นนิสัย

9. ทานอาหารอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

การกินอาหารพร้อมครอบครัว จะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากอาหารมากขึ้น แถมยังสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นภายในครอบครัวได้อีกด้วย

10. ไม่เล่นไปกินไป

คุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัวต้องสร้างระเบียบวินัยการกินให้กับลูก ไม่ควรเล่นไปกินไป และไม่ควรใช้เวลาการทานอาหารแต่ละมื้อเกิน 20-30 นาที

บทสรุ

ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว กินยาก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย หากมีความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ต้นเหตุ อย่างไรก็ตาม หากเป็นปัญหาเชิงพฤติกรรมที่ไม่ได้มีความรุนแรงมาก การปรับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองร่วมกับลูกจะช่วยให้พฤติกรรมการกินอาหารดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมากจึงจะประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ เพื่อปลูกฝังให้เกิดพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีอย่างยั่งยืน

นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่องการรับประทานอาหารของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมคำนึงถึงเรื่องสารอาหารที่ลูกควรจะได้รับในแต่ละมื้อ เพื่อให้ร่างกายของลูกรักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ สมวัย และแข็งแรง

อ้างอิง

Brown CL, Vander Schaaf EB, Cohen GM, Irby MB, Skelton JA. Association of Picky Eating and Food Neophobia with Weight: A Systematic Review. Child Obes. 2016 Aug;12(4):247-62.

Byrne R, Jansen E, Daniels L. Perceived fussy eating in Australian children at 14 months of age and subsequent use of maternal feeding practices at 2 years. Int J Behav Nutr Phys Act. 2017;14(1):123. 

Cardona Cano S, Hoek HW, Bryant-Waugh R. Picky eating: the current state of research. Curr Opin Psychiatry. 2015 Nov;28(6):448-54.

Kerzner B, Milano K, MacLean WC Jr, Berall G, Stuart S, Chatoor I. A practical approach to classifying and managing feeding difficulties. Pediatrics. 2015 Feb;135(2):344-53.

Taylor CM, Emmett PM. Picky eating in children: causes and consequences. Proc Nutr Soc. 2019 May;78(2):161-169. 

Taylor CM, Wernimont SM, Northstone K, Emmett PM. Picky/fussy eating in children: Review of definitions, assessment, prevalence and dietary intakes. Appetite. 2015 Dec;95:349-59

ที่มา

https://www.milo.co.th/all-blog/

https://www.punnita.com/blog/

https://www.istockphoto.com/th/

https://www.istockphoto.com/th/%E0

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  registrycleaner-free.com