โซเชียลมีเดีย

ปัจจุบัน เราเริ่มนับ ว่าเราคบกับคนรักหรือแฟน กันอย่างจริงจังเมื่อไหร่กัน?

ถ้าจะให้กล่าวถึง เรื่องความสัมพันธ์ อาจเป็นเรื่องยากพอสมควร ที่เราจะพูดได้ว่า “คนนี้เขาจริงจังกับเราแล้วนะ” หรือ “เราจริงจังกับเธอคนนี้แล้วนะ” ซึ่งตามความเป็นจริง ความสัมพันธ์มันไม่ได้มีสูตรตายตัว เหมือนสูตรจากวิชาคณิตศาสตร์ หรือเหมือนเกมสื The Sims ี่มีหลอดพลังบ่งบอก ถึงความสัมพันธ์ ระหว่างกัน และบ่อยครั้งมันแถบ ไม่มีคำตอบ

หลายคนอาจเคยพูดแบบข้างต้นได้ ในเกือบทุกกรณี แต่บนโลกโซเชียลมีเดีย เราสามารถตั้งสถานะการคบหากันได้ ซึ่งมันคือการยอมรับกันแบบกลายๆ ว่านี่แหละคือการเปิดตัว อย่างเป็นทางการมากที่สุด รองลงมาจากการหมั้นหมายและแต่งงาน แต่จะว่าไป โซเชียลมีเดียถึงเข้ามา มีน้ำหนักต่อความจริงจัง และความสัมพันธ์ของเรา เมื่อไหร่กัน?

โซเชียลมีเดีย

โซเชียลมีเดียส่งผลแบบไหน ในความสัมพันธ์ระยะยาว?

เปิดตัวบนโซเชียล = ทุ่มเทมากกว่า? ในขณะที่มิติของความสัมพันธ์เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่สำหรับแต่ละคนมีความแตกต่างหลากหลายออกไป เราไม่อาจพูดได้ทุกกรณีว่าความสัมพันธ์แบบที่การตั้งคบหรือไม่ตั้งเป็นความสัมพันธ์ที่จริงจังกว่ากัน เพราะมันขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ไม่ว่าจะพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย

นิสัยส่วนตัว มิติความสัมพันธ์ของคนรัก การเลี้ยงดู สังคม ฯลฯ แต่ว่านอกจากความแตกต่างระดับบุคคล มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือเปล่า? ในการสำรวจ ‘Making it Facebook official: The warranting value of online relationship status disclosures on relational characteristics’

โดย บริแอนนา เลน (Brianna L. Lane) มหาวิทยาลัยคริสโตเฟอร์นิวพอร์ต ที่ศึกษาว่าความสัมพันธ์แบบที่คนรักประกาศว่าพวกเขาคบกันบนโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการ ที่ผู้วิจัยเรียกว่า ‘ทางการบนเฟซบุ๊ก’ นั้นมีผลต่อความสัมพันธ์จริงๆ ของคู่รักหรือเปล่า โดยการสำรวจนี้ใช้ทฤษฎีการรับประกัน (Warranting Theory)

เพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างความสัมพันธ์ของคู่รักในโลกออนไลน์ และในโลกออฟไลน์ โดยผลจากการวิจัยพบว่า คู่รักที่เปิดตัวบนโลกโซเชียลมีเดียนั้น มีโอกาสจะพึงพอใจในความสัมพันธ์มากกว่า ทุ่มเทมากกว่า เอาใจใส่มากกว่า แต่การจะเข้าใจเหตุผลที่มาถึงข้อสรุปนี้ เราต้องเข้าในทฤษฎีการรับประกันเสียก่อน

ทฤษฎีการรับประกัน เวอร์ชั่นใน 2002 ที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์วิชาการสื่อสารจากมหาวิทยาลัยอาริโซน่า โจแซฟ วอลเธอร์ (Joseph Walther) และมัลคอล์ม พากส์ (Malcolm Parks) ศาสตราจารย์การสื่อสาร มหาวิทยาลัยวอชิงตัน คือทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีที่คนคนหนึ่งเลือกจะเชื่อในข้อมูลอะไรบางอย่าง

หากข้อมูลนั้นๆ มีโอกาสถูกบิดเบือนจากผู้ที่ข้อมูลกำลังพูดถึงได้ ข้อมูลนั้นจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าข้อมูลที่ไม่อาจโดนบิดเบือนจากผู้นั้นได้ พูดไปอาจไม่เห็นภาพ ฉะนั้นต้องมีการยกตัวอย่างผ่านคน 3 คน คนแรกชื่อนายประยุกต์ผู้เป็นนายกอบต. คนที่ 2 คือประชาชน และคนที่ 3 คือสื่อแห่งหนึ่ง สมมติว่า ระหว่างนายประยุกต์

พูดว่าเขาไม่ได้เป็นคนโกงกินให้ประชาชนฟัง กับสื่อแห่งหนึ่งบอกว่านายประยุกต์เป็นคนโกงกิน เหตุการณ์ไหนประชาชนส่วนมากจะเชื่อมากกว่า? แน่นอนว่าเป็นเหตุการณ์ที่ 2 เพราะ (ในอุดมคติ) สื่อมีหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาล กล่าวคือความน่าเชื่อถือของข้อมูลใดๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงเนื้อความของข้อมูลนั้นๆ แต่ด้วยหลักประกัน

โดยหลักประกันมีตัวชี้นำที่มีหลากหลายน้ำหนัก ทั้งตัวผู้ให้ข้อมูล ยศ การเลือกใช้ชื่อจริงหรือนามปากกา ฯลฯ แต่ว่าเกี่ยวข้องยังไงกับความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก? ทฤษฎีการรับประกันเวอร์ชั่นของโจแซฟและมัลคอล์มวิวัฒนาการเรื่อยมาตั้งแต่ 2002 มาจน 2011 ที่เกิดการถกเถียงเพิ่มเติมอีกครั้งโดยโจแซฟเอง เขาเชื่อว่าแม้ว่าข้อมูลที่เกิดจากผู้อื่นจะเป็นข้อมูลที่มีน้ำหนักมากที่สุด

ข้อมูลนั้นสามารถถูกตรวจสอบได้จากเครือข่ายของเป้าหมาย และเป้าหมายจะมีโอกาสปรับแก้ข้อมูลส่วนตัวน้อยลงหากผู้รับข้อมูลมีทางที่จะเข้าถึงตัวเป้าหมายและสามารถตรวจสอบ รับรู้ และวิพากษ์ความบิดเบือนนั้นๆ ได้ ฉะนั้นเขาจึงเสนอให้เกิดการเพิ่มน้ำหนักของข้อมูล ที่เกิดจากตัวเป้าหมายเองในกรณีของโซเชี่ยลมีเดีย

นั่นแปลว่าเช่นเดียวกันกับที่ นายประยุกต์จะมีโอกาสบิดเบือนข้อมูลน้อยลงหากองค์กรของเขาโปร่งใส และเปิดโอกาสให้เกิดการตรวจสอบโดยประชาชน นำไปสู่ผู้นำที่ประชาชนเชื่อถือมากขึ้น ในสายตาโจแซฟโซเชียลมีเดียยุคปัจจุบันมอบความโปร่งใสนั้น โดยเฉพาะกับคู่รักและการเข้าถึงกัน และกันผ่านโซเชียลมีเดียของทั้งคู่

ซึ่งมันสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างตัวตนออนไลน์และออฟไลน์ของตัวบุคคล และนั่นเชื่อมโยงไปสู่การที่ผู้วิจัยบริแอนนา เลน เขียนในบทสรุปว่า เช่นนั้นแล้วผ่านทฤษฎีการรับประกัน ก็สามารถหมายความได้ว่าการประกาศตั้งคบให้เป็นทางการบนเฟซบุ๊กนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโลกจริงด้วย ไม่ใช่เป็นจริงเพียงในโลกโซเชียลมีเดียเท่านั้น

เครื่องมือจับตาเพิ่ม ความหึงหวงอาจเพิ่มอีกด้วย

ในขณะเดียวกันกับที่โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่หยิบยื่นวิธีการตรวจสอบตัวตนออนไลน์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่รักได้ ความสามรถในการตรวจสอบนั้นสามารถนำไปสู่ผลตรงข้ามกับความพึงพอใจได้ในหลายๆ กรณี วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก Facebook and Relationships: A Study of How Social Media Use is Affecting Long-Term Relationships

โดยรีแอนน์ ฟาร์รูเจีย (Rianne Farrugia) ผู้วิจัยจากสาขาการสื่อสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับผละกระทบของโซเชียลมีเดียต่อความสัมพันธ์ระยะยาว โดยเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเป็นหลักคือความถี่ของการใช้โซเชียลมีเดีย ความหึงหวง และการพัฒนาความสัมพันธ์

ผู้วิจัยพยายามแบ่งระดับความสัมพันธ์ที่เติบโตของคู่รักผ่านทฤษฎีการแทรกซึมในสังคม (Social penetration theory) โดยทฤษฎีดังกล่าวเสนอว่า ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเติบโต การสื่อสารระหว่างพวกเขาย่อมโตตามและลึกซึ้งขึ้นจากความสัมพันธ์ผิวเผิน เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด โดยหนึ่งในสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้

คือเมื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ของคู่รักเกิดขึ้น ไม่ว่าจะในโลกออนไลน์หรือออฟไลน์ ความหึงหวงจะสูงขึ้นตามเนื่องจากโซเชียลมีเดียหยิบยื่นวิธีการที่ทำให้คู่รักรู้จักความหลังของกันและกันมากขึ้น มากกว่าที่จะพูดกันต่อหน้า ผู้วิจัยเรียกมันว่าการสอดส่อง แต่สมมติฐานดังกล่าวไม่แปรผันออกมาตามที่คาด

เพราะผลสรุปจากการวิจัยปรากฏออกมาว่าอัตราการสอดส่องไม่ได้ขึ้นอยู่กับลำดับขั้นของการแทรกซึมทางสังคม แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คู่รักใช้เฟซบุ๊กต่างหาก กล่าวคือยิ่งคู่รักคู่ไหนใช้เฟซบุ๊กมาก ก็ยิ่งมีโอกาสมากกว่าในการที่พวกเขาจะทำการสอดส่อง และการสอดส่องที่มากขึ้นนั้นก็นำไปสู่ความหึงหวงที่เพิ่มมากขึ้นตามกันไป

และในบทสรุป พบว่าความหึงหวงนั้นเองที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความสัมพันธ์จากการแทรกซึมทางสังคมให้ช้าลง กล่าวได้ว่าการคาดเดาพื้นฐานว่าธรรมชาติของมนุษย์และชีวิตในโลกออฟไลน์จะเป็นตัวกำหนดลักษณะการกระทำของพวกเขาในโลกออนไลน์นั้นกลับไม่เป็นจริง กลับกลายเป็นว่าผลของการทดลองกลับข้างกันกัน นั่นคือพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียต่างหากที่กระทบไปสู่ชีวิตโลกออฟไลน์ของเรา

ขอบคุณแหล่งที่มา : thematter.co

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : registrycleaner-free.com